โครงการชุมชนลดเปลี่ยนโลก

วัตถุประสงค์

  • เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรม ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามบริบทของพื้นที่ มุ่งสู่การสร้างสังคมเครือข่ายที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างเป็นรูปธรรม
  • เพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย

ชุมชนที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ

ประเภทของรางวัลในการประกวด

รางวัลชนะเลิศ :

เงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล และศึกษาดูงานด้านสิ่งแวดล้อม ณ ประเทศญี่ปุ่น

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1:

เงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัล

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2:

เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัล

แนวทางการดำเนินโครงการ

โครงการชุมชนลดเปลี่ยนโลกมุ่งส่งเสริมให้ชุมชนมีความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างยั่งยืน โดย “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Carbon Neutrality) หมายถึง มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดกลับคืนมา เรียกได้ว่ามีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (เทียบก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่น ๆ ที่ปล่อยออกมาด้วยค่าศักยภาพการทาให้โลกร้อนเป็นจานวนเท่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) ด้วยวิธีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับการเพิ่มการดูดกลับหรือการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในพื้นที่ รวมถึงการพัฒนาต่อยอดกิจกรรมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการเพิ่มการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการเก็บข้อมูลเพื่อนาไปขอการรับรองขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตเพื่อนาไปขาย หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Green Product) หรือจัดทำบริการ (Green Service) ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยลดภาวะโลกร้อน สู่การสร้างสังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยคานึงถึงแนวทางตามแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 2, 6, 7, 11, 12, 13, 14 และ 15 สรุปเป็น 3 แนวทางหลักในการสร้างชุมชนให้มีความเป็นกลางทางคาร์บอนภายใต้โครงการ ดังนี้

1. การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Reduce Emission) โดยแบ่งกิจกรรมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของชุมชน ได้เป็น

1) การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือใช้พลังงานทางเลือก เนื่องจากการผลิตพลังงานไฟฟ้ายังคงต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ถ่านหิน) ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า ดังนั้น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมชุมชนสามารถทาได้โดยการลดการใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจาวัน การเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน การใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้พลังงานทางเลือกอื่น ๆ ทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงไฟฟ้าที่ต้นสายส่ง เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวลจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร พลังงานก๊าซชีวภาพ พลังงานลม พลังงานน้า พลังความร้อนใต้พิภพ ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีอยู่ในท้องถิ่น

2) การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและรักษาคุณภาพแหล่งน้ำ การใช้น้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค รวมถึงน้ำเสียที่เกิดจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทุกกระบวนการล้วนก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น การใช้น้ำอย่างประหยัด รู้คุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ใช้แล้วก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงการดูแลรักษาคุณภาพและจัดการการใช้ประโยชน์ของแหล่งน้ำจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

3) การเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเดินทางด้วยรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือเครื่องยนต์สันดาปประเภทต่าง ๆ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องใช้พลังงานจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้น การมีการจัดการระบบการเดินทางที่ดี หรือลดการใช้ยานพาหนะที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเลือกใช้ยานพาหนะหรือเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน การเปลี่ยนมาเดินหรือใช้รถจักรยานในระยะทางใกล้ ๆ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

4) การจัดการขยะอย่างถูกวิธี ครบวงจร และเหมาะสม ของเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ภายในชุมชน ทั้งจากการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน การประกอบอาชีพ การท่องเที่ยว และภาคการเกษตร เช่น เศษอาหาร พลาสติก โฟม แก้ว โลหะ ขยะมูลฝอยต่าง ๆ ทาให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ดังนั้น การลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทางด้วยการลดการใช้ (Reduce) การคัดแยกขยะก่อนทิ้งอย่างถูกวิธี เพิ่มการนำกลับมาใช้ประโยชน์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การนำมาใช้ซ้า (Reuse) เพื่อยืดอายุของสิ่งนั้นให้นานขึ้นก่อนกลายเป็นขยะ การคัดแยกส่งเข้ากระบวนการรีไซเคิล (Recycle) รวมทั้งการคิดก่อนที่จะซื้อสิ่งของ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรปฎิบัติ เพื่อให้เหลือขยะที่ต้องถูกส่งไปกำจัดน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก

5) การลดการใช้สารเคมีในการเกษตร การใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีในการกำจัดวัชพืช ศัตรูพืช และสารเคมีป้องกันและกำจัดโรคพืชในการเกษตร เป็นแหล่งสำคัญที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากออกสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้น การลดหรือเลิกใช้สารเคมีเหล่านี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือวัสดุธรรมชาติทดแทนปุ๋ยเคมียังเป็นการเพิ่มการสะสมอินทรียวัตถุในดิน ซึ่งทำให้เกิดการตรึงและเก็บกักคาร์บอนไว้ในดินได้มากขึ้น ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยังช่วยรักษาระบบนิเวศ คืนความสมบูรณ์ให้กับดินได้อีกด้วย

6) การลดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ลดการเผาขยะและวัสดุอื่น ๆ การเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะ และวัสดุอื่น ๆ ในพื้นที่โล่ง เป็นสาเหตุสาคัญที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น การลดการเผานอกจากจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังช่วยลดมลพิษอากาศได้อีกด้วย

2. การเพิ่มการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (More Adsorption) ด้วยการเพิ่มตัวดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งด้วยวิธีทางธรรมชาติหรือการใช้เทคโนโลยี ได้แก่

1) การเพิ่มและอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว เนื่องด้วยพื้นที่สีเขียวเป็นแหล่งสำคัญในการช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ตามธรรมชาติ ดังนั้น การปลูกต้นไม้ ปลูกป่านิเวศด้วยพันธุ์ไม้พื้นถิ่น และการอนุรักษ์ ดูแลรักษาพื้นที่สีเขียวที่มีอยู่เดิมจะช่วยดูดซับกาซเรือนกระจกได้ปริมาณ รวมทั้งการสำรวจพื้นที่ จำนวน ชนิดพันธุ์ไม้ และความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่สีเขียวดังกล่าว เพื่อเป็นฐานข้อมูลทรัพยากร สามารถนำไปพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้หรือเป็นข้อมูลสำหรับการขายคาร์บอนเครดิตจากภาคป่าไม้ต่อไปในอนาคต

2) การใช้เทคโนโลยีในการจัดการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้เทคโนโลยีในการดักจับ กักเก็บ หรือนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น การนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ นำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง ทำวัสดุก่อสร้าง การกักเก็บใต้พื้นดิน การตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสาหร่ายขนาดเล็ก รวมถึงการทำถ่านชีวภาพหรือไบโอชาร์ (Biochar) เพื่อกักเก็บคาร์บอนลงในดินและช่วยปรับสภาพดิน เป็นต้น

3. การชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) คือ ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Offset) จากหน่วยงานที่มีการรับรองเพื่อให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดกลับคืนมา ซึ่งการชดเชยคาร์บอนจะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่สามารถลดหรือเพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจกด้วยตนเองให้เท่ากับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เราปล่อยได้ จึงจำเป็นต้องซื้อคาร์บอนเครดิตจากหน่วยงานที่ผ่านการรับรอง ทั้งนี้ ชุมชนสามารถต่อยอดกิจกรรมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการเพิ่มการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปขอการรับรองขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตเพื่อนำไปขายได้เช่นกัน

นอกจากนี้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Green Product) ที่เป็นการนำวัตถุดิบที่มีในพื้นที่หรือวัสดุเหลือใช้ในชุมชนกลับมาใช้ประโยชน์ และผลิตด้วยกระบวนการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม หรือการจัดทำบริการ (Green Service) เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นปุ๋ย วัสดุปลูกหรือรองพื้น สารป้องกันและกำจัดแมลง การจัดการท่องเที่ยวในชุมชนด้วยการใช้สินค้า ผลิตภัณฑ์ อาหารและเครื่องดื่มที่ผลิตในชุมชน การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจรับซื้อขยะรีไซเคิลเพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะในชุมชน เป็นต้น โดยยึดหลัก BCG Model ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่มุ่งเน้นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) สร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรชีวภาพ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าหรือยาวนานที่สุด และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) การพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินงานลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการสีเขียวที่ส่งเสริมความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามแนวทางที่ให้ไว้หรือสร้างสรรค์แนวทางอื่น ๆ โดยเชื่อมโยงให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทของพื้นที่ เพื่อให้เกิดการลดภาวะโลกร้อน และความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างยั่งยืน

ขั้นตอนการดำเนินงาน

illus-1

1. การประชาสัมพันธ์และรับสมัคร ประชาสัมพันธ์เชิญชวนชุมชนภายใต้การดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมัครเข้าร่วมโครงการผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือเชิญ เว็บไซต์ และเฟสบุ๊ค

2. เปิดตัวโครงการและเสริมสร้างความตระหนักรู้ โครงการลดเปลี่ยนโลกเปิดรับสมัครให้ชุมชนภายใต้การดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สนใจเข้าร่วมโครงการลงทะเบียนขอเข้าร่วมงานเปิดตัวโครงการด้วยรูปแบบ Online ใน 4 ภูมิภาค เพื่อรับฟังแนวทางการดำเนินโครงการ การให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ภาวะโลกรวน แนวทางของประเทศไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างแรงบันดาลใจในการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

3. การคัดเลือกชุมชนลดเปลี่ยนโลก

1) การคัดเลือกรอบที่ 1 จากเอกสารรับสมัคร ทางคณะกรรมการคัดเลือกของโครงการจะทำการคัดเลือกชุมชนเข้าร่วม จานวน 16 แห่ง โดยพิจารณาจากข้อมูลในเอกสารรับสมัครที่กรอกข้อมูลด้านประสบการณ์การดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อม ข้อเสนอโครงการ แนวคิด และหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้ส่งมาประกอบกัน ซึ่งต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้

หัวข้อที่ 1 ใบสมัครมีความครบถ้วนและส่งตามเวลาที่กำหนด

หัวข้อที่ 2 การดำเนินงานเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของชุมชนที่เคยดำเนินการหรือยังดำเนินการอยู่

หัวข้อที่ 3 แนวคิดหรือโครงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ชุมชนคาดว่าจะดำเนินการเพื่อมุ่งสู่ชุมชนที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน

– เสริมองค์ความรู้และศักยภาพให้แกนนำ ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านการคัดเลือก เข้าร่วมการเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แกนนำผ่านกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพชุมชนและ อปท. รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำแนวทางไปประยุกต์ใช้ให้การดำเนินงานในพื้นที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

2) การคัดเลือกรอบที่ 2 จากแสดงแนวคิดการดำเนินงาน ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมการเสริมสร้างองค์ความรู้ทำการปรับแผนและแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ทางคณะกรรมการโครงการจะทำการคัดเลือกชุมชน จานวน 8 แห่ง โดยพิจารณาจากการนำเสนอแนวคิดหรือแนวทางการดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีหลักการ เหตุผล ความน่าจะเป็นที่สามารถดำเนินการในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีแนวทางการวัดผลหรือตัวชี้วัดการดำเนินงานที่ชัดเจน ฯลฯ ด้วยรูปแบบ Online ทั้งนี้ ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านเข้ารอบแต่ละแห่ง จะได้รับงบประมาณสมทบการดำเนินงาน จานวน 10,000 บาท

– ส่งข้อมูลพื้นฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งข้อมูลพื้นฐานกิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อนการเข้าร่วมโครงการให้กับทาง ผู้ประสานงานโครงการ รวมทั้งชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกันดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มการดูดกลับหรือกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ลดภาวะโลกร้อน สู่การเป็นชุมชนที่เป็นกลางทางคาร์บอนในพื้นที่ตามแผนงานที่วางไว้

– ส่งข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ หลังจากการดำเนินงานโครงการตามแผนงาน ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งส่งรายงานความก้าวหน้าซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดกิจกรรม หลักฐานภาพถ่าย เอกสารประกอบ และแนวโน้มของผลจากการดำเนินกิจกรรม รวมทั้งข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้และข้อมูลการดูดกลับหรือการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์จากการดำเนินกิจกรรมให้กับทางผู้ประสานงานโครงการ

3) การคัดเลือกรอบชิงชนะเลิศ

– ตรวจเยี่ยมและติดตามประเมินในพื้นที่ คณะกรรมการประเมินลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของชุมชนทั้ง 8 แห่ง เพื่อให้คะแนนในส่วนของการดำเนินงานในพื้นที่จริง

– การตัดสินรอบชิงชนะเลิศ ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 8 แห่ง เข้าร่วมการจัดนิทรรศการแสดงผลงานและนำเสนอผลการดำเนินงานต่อหน้าคณะกรรมการตัดสิน ซึ่งคณะกรรมการตัดสินจะรวมคะแนนทั้ง 3 ส่วน (การดำเนินงานในพื้นที่ การจัดแสดงผลงาน และการนำเสนอผลงาน) และพิจารณาจัดลำดับรางวัลชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น ประกาศผลในงานมอบรางวัล เว็บไซต์และเฟสบุ๊คของโครงการฯ

หมายเหตุ: การคัดเลือกชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเริ่มประเมินผลตั้งแต่การสมัคร การดำเนินโครงการ จนกระทั่งสิ้นสุดโครงการ โดยผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด